การสอบวัดผลความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (KU-EXITE)

การสอบ KU-EXITE 2024



ตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดให้นิสิตปริญญาตรีทุกคน ต้องเข้ารับการทดสอบหรือยื่นผลคะแนนสอบวัดความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก่อนสำเร็จการศึกษา 1 ปี ตามหลักสูตร เพื่อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพในอนาคต หากไม่เข้ารับการทดสอบวัดความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

 

* ก่อนการสอบจริง ให้นิสิตที่จะสอบ KU-EXITE ให้ดำเนินการเข้าระบบ KULAM เพื่อซ้อมสอบก่อนเพื่อให้คุ้นเคยกับระบบสอบ และเผื่อเวลาในการทำข้อสอบ

** อให้นิสิตทำข้อสอบเองและตั้งใจทำ  ผลการสอบจะนำมาใช้วิเคราะห์ว่า มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษอย่างไร  การไม่ตั้งใจสอบทำให้คะแนนต่ำหรือการทุจริตทำให้ได้คะแนนสูง ๆ  ก็จะทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดเพี้ยนไป และจะส่งผลเสียต่อนิสิตเอง ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์บังคับสอบผ่าน มหาวิทยาลัยขอให้นิสิตทราบทักษะด้านภาษาของตนเอง เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมทักษะด้านภาษา (การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน) ให้ดียิ่งขึ้น

***การไม่เข้าสอบ KU-EXITE จะไม่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษา แต่จะเป็นเงื่อนไขในการมีสิทธิ์เข้าร่วมในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

**** นิสิตที่ไม่เข้าสอบ KU-EXITE สามารถยื่นคะแนนอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อขอเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ 

*****นิสิตที่เข้าสอบเมื่อปี 2565 ใบรายงานคะแนน จะถูกส่งไปที่อีเมล @ku.th ของนิสิต คะแนนมีอายุ 2 ปี นับจากวันสอบ มหาวิทยาลัยจะดึงคะแนนมาเอง นิสิตไม่ต้องยื่นมาซ้ำ

******ตรวจสอบสถานะการสอบ KU-EXITE ปี 2564-2566 ที่นี่ (เลือกเมนู การยื่นคะแนนอื่น)

รอบนิสิตตกค้าง ชำระเงินค่าสมัครสอบ 400 บาท/ครั้ง 

ชำระเงินออนไลน์ ที่นี่  

        (เมื่อชำระเงินค่าสมัครสอบแล้ว รอประมาณ 1 นาที สถานะการชำระเงินในเว็บจะเปลี่ยนเป็น paid ส่วนข้อสอบเจ้าหน้าที่จะนำเข้าให้ภายใน 1-2 วันทำการ)

 

–> สารพันปัญหา ถามมาตอบไป 2 >>>

ถาม นิสิตสมัครสอบ “นิสิตตกค้าง/ไม่ได้สอบ” ชำระเงินค่าสมัครสอบ 400 บาท แล้ว จะตรวจสอบได้อย่างไรว่า มีสิทธิ์สอบรอบ วันที่ 8 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2567

ตอบ ในวันที่ 5 กรกฏาคม 2567 เป็นต้นไป ให้นิสิตเข้าระบบสอบ KULAM จะพบข้อสอบซ้อมสอบ หากไม่พบข้อสอบซ้อมสอบ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยด่วน ตามข้อ 9

 

2.ดูตารางสอบแต่ละวิทยาเขตอาจมีตารางสอบต่างกัน

 

 

3. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการสอบ

– Computer ตั้งโต้ะ Notebook หรือ iPad หรือ Tablet อื่น ๆ
ไม่แนะนำให้ทำการสอบด้วยโทรศัพท์มือถือ แต่ถ้าจะเป็นจริง ๆ ให้ทำด้วยแนวนอนเท่านั้น (Landscape Mode)
ชุดหูฟัง (Headset) เพื่อใช้ในการฟัง Part ของ Listening
-ใช้  Web Browser ในการเข้าระบบ  เป็น Safari, Chrome หรือ Firefox
– การสอบครั้งนี้ไม่ต้องเปิดกล้องใด ๆ ให้ตนเองทำเต็มความสามารถเพื่อให้ได้ผลที่แท้จริง

4. การซ้อมสอบ : ให้นิสิตทุกคนเข้าไปซ้อมสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้คุ้นเคยกับระบบสอบและวิธีการสอบ (ให้ดูคลิปวิธีการสอบ KU-EXITE ก่อน)

  • สามารถเข้าระบบสอบ และเริ่มทำข้อสอบในวันแรกของการสอบที่กำหนดไว้ 
  • โดยเข้าระบบ KULAM  ที่นี่ >>>  https://exam.ku.th
  • โดยการกดปุ่ม   แล้วใช้ Account @ku.th   เพื่อเข้าระบบ
  • เลือกรายวิชา  KU-EXITE # KET (Kasetsart English Test)
    • ให้ซ้อมสอบก่อนโดยเลือกชุดข้อสอบ มี 2 ชุดได้แก่แบบสั้น  และ ซ้อมสอบแบบเต็ม
      • Short Practice KU-EXITE  (ใช้เวลาทำประมาณ 20 นาที) 
      • Full Practice KU-EXITE  (ใช้เวลาทำประมาณ 1:30 ชั่วโมง เหมือนข้อสอบจริง)
  • กดปุ่ม Start   (โปรดระวัง!! ตรวจสอบชื่อชุดข้อสอบอีกครั้ง   ก่อนกดปุ่ม Start) 
  • ทำข้อสอบซ้อมสอบทั้งสองชุดแล้ว ให้ดำเนินการสอบจริง โดยใช้ข้อสอบชื่อ “KU-EXITE 2022” 

*การซ้อมสอบกับสอบจริงไม่จำเป็นต้องทำติดต่อกัน  แต่ขอให้ทำให้ช่วงเวลาที่กำหนดของแต่ละวิทยาเขต*

–> สารพันปัญหา ถามมาตอบไป 3 >>>

ถามข้อสอบซ้อมสอบ เปิดให้ทำได้วันไหน กี่โมง

ตอบ :  ข้อสอบซ้อมสอบ เปิดให้นิสิตเข้าไปลองทำได้ ในวันแรกของการสอบ (ของแต่ละวิทยาเขต)

    • รอบนิสิตตกค้าง : จ่ายเงินค่าสมัครสอบก่อน จึงจะมีสิทธิ์เข้าซ้อมสอบและสอบ ข้อสอบซ้อมสอบเจ้าหน้าที่จะทยอยนำเข้าให้เมื่อทางการเงินยืนยันการชำระเงินกับทางธนาคารแล้ว

ถามนิสิตจะเห็นอะไรบ้างบนหน้าจอ

ตอบ :  ตามรูปด้านล่างนี้ อย่าลืมเลือกวิชา KU-EXITE ก่อน และนิสิตอาจต้องเลือก All ก่อนเนื่องจากระบบจะแสดงผลตามสถานะของข้อสอบ ณ ปัจจุบัน

5. การสอบจริง  นิสิตสามารถเข้าสอบตามช่วงวันและเวลาที่สะดวก ตลอด 24 ชม.

  • เริ่มสอบ   เที่ยงคืน (00.00 น.) ของ วันแรกที่กำหนดสอบ
  • หมดเวลาสอบ ก่อนเที่ยงคืน (23.59 น.) ของ วันที่สุดท้ายที่กำหนดสอบ
  • เข้าระบบสอบ และเลือกชุดข้อสอบชื่อว่า “KU-EXITE 2024”  (โปรดระวัง!! ตรวจสอบชื่อชุดข้อสอบอีกครั้ง   ก่อนกดปุ่ม Start)
  • กดปุ่ม Start
  • เมื่อทำข้อสอบครบแล้ว ให้กดปุ่ม “submit” มุมขวาด้านล่างของจอ

–   หากสงสัยในขั้นตอนเข้าระบบสอบ ฯ  โปรดกลับไปอ่านที่ข้อ 4

คำอธิบายเพิ่มเติม

– ข้อสอบมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์คะแนนในการผ่าน (แต่ข้อสอบมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการวัดผลได้ 10 คะแนนขึ้นไป) ดังนั้นขอให้ตั้งใจทำทุกข้อด้วยความสามารถของตนเอง

– ระยะเวลาการทำข้อสอบทั้งหมดประมาณ 1:30 – 1:45 ชั่วโมง   (พยายามบริหารเวลา และค่อยๆ ทำข้อสอบ อย่าเร่งรีบจนเกินไป การซ้อมสอบก่อน จะช่วยให้นิสิตประมาณเวลาที่ใช้ในแต่ละข้อได้ โดยเฉพาะ part Listening ที่นิสิตจะมีเวลาเทียบเท่ากับความยาวของคลิปเสียงบทสนทนา บวกช่วงเวลากดตอบข้อละ 10-40 วินาที)

เมื่อเริ่มต้นการสอบแล้ว การสอบจะต่อเนื่องกัน ไม่สามารถย้อนกลับหรือหยุดเวลาในระหว่างการสอบได้  ดังนั้นให้หาช่วงเวลาสอบที่ตนเองไม่ถูกขัดจังหวะหรือเสียสมาธิ
– หลังจากทำข้อสอบในส่วนของการฟังไปแล้ว (ประมาณ 30 นาที) จะมีพักเบรค 5 นาทีให้เข้าห้องน้ำได้ ถ้าไม่พักก็สามารถทำข้อสอบในส่วนต่อไปได้เลย

– รายงานผลการสอบจะแสดงให้ทันทีหลังจากส่งข้อสอบ ท้ายข้อสอบจะมีคำเตือนอย่างชัดเจน อย่าลืมสังเกตด้วยว่าเป็นข้อสอบซ้อมสอบหรือข้อสอบจริง

6. การเข้าระบบสอบ ให้นิสิตดูคลิปวิดิโอด้านล่าง ก่อนทำข้อสอบ เพื่อจะได้ไม่พลาดเทคนิคและวิธีทำข้อสอบ หรืออ่าน >> คู่มือการเข้าใช้งาน KULAM ได้ที่นี่

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ 

  • ไม่ควรรีเฟรชหรือรีโหลด หน้าจอระหว่างทำข้อสอบ หากนิสิตเกิดปัญหาระหว่างทำข้อสอบ ทั้งในเรื่องอุปกรณ์ใช้สอบและสัญญานอินเตอร์เน็ต วิธีแก้ไข คือ หยุดเวลา ด้วยการปิดข้อสอบ แล้วเปิดข้อสอบใหม่อีกครั้ง ถ้าหากยังไม่แก้ปัญหา ให้ลองเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ในการทำข้อสอบ
  • ลืมทำข้อสอบจริง : อย่าลืม!!!  ว่าข้อสอบมี 3 ชุด คือ ข้อสอบซ้อมสอบ (ทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่แนะนำให้ทำ) และข้อสอบจริง (อันนี้ต้องทำ ไม่ทำจะไม่มีคะแนนและถือว่าไม่ได้เข้าสอบนะจ๊ะ)
  • ล็อกอินไม่ได้ –> นิสิตเปิดเว็บสอบผ่านหน้าจอ LINE หรือ Facebook บนมือถือโดยตรง ขอให้นิสิตเปิดลิงก์ระบบสอบผ่านเบราว์เซอร์ Safari หรือ Chrome โดยตรงเท่านั้น!!! (เปิดเบราว์เซอร์ แล้วพิมพ์ https://exam.ku.th ด้วยตนเอง)
  • นิสิตจำนวนมากใช้โทรศัพท์มือถือในการทำข้อสอบ ***ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมในการทำข้อสอบที่มีข้อมูลมาก ขณะนี้เปิดภาคการศึกษาออนไซต์แล้ว นิสิตสามารถไปจองใช้เครื่องสอบ ณ หอสมุด คณะ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์ของวิทยาเขตได้นะคะ
  • ปัญหาข้อสอบค้าง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่อุปกรณ์ที่ใช้ทำข้อสอบ โหลดข้อมูลไม่สมบูรณ์ : วิธีแก้ไข คือ หยุดเวลา ด้วยการปิดข้อสอบ แล้วเปิดข้อสอบใหม่อีกครั้ง ถ้าหากยังไม่แก้ปัญหา ให้ลองเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ในการทำข้อสอบ
  • ไม่เข้าไปทำข้อสอบซ้อมสอบก่อน ทำให้ไม่คุ้นเคยกับการสอบ หรือไม่มีโอกาสได้ทดสอบอุปกรณ์ที่กำลังจะเอามาใช้สอบจริง
  • การตกใจหรือกังวลใจ เมื่อข้อสอบมีปัญหาหรือ เกิดปัญหาฉุกเฉินระหว่างทำข้อสอบ : วิธีแก้ไข ขอให้นิสิตตั้งสติ Capture หน้าจอที่เกิดปัญหาไว้ (ถ้าทำได้) และปิดข้อสอบทันที เพื่อหยุดเวลาไว้ ติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านช่องทางตามข้อ 9 และรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับตามลำดับคิว *ขอให้นิสิตรอประมาณ 1 วันทำการ หากไม่มีเจ้าหน้าที่ตอบกลับ ค่อยติดต่อมาอีกครั้ง
  • ลืมบัญชี/รหัสผ่านของผู้ใช้งานเครือข่ายนนทรี (Nontri account) : ตรวจสอบได้ที่ https://accounts.ku.ac.th

7. แบบประเมินหลังการสอบ 

เมื่อสิ้นสุดการสอบ ที่ด้านบนสุดของหน้ารายงานผลคะแนน จะมีลิงค์ให้ทำแบบประเมินในหน้าสุดท้ายที่เป็นรายงานผลคะแนน (หรือกดที่นี่)  ขอบคุณผู้ที่ได้ประเมินทุกท่านและทางมหาวิทยาลัยจะได้นำมาปรับปรุงการสอบในปีถัด ๆ ปี

8. รายงานผลคะแนน KU-EXITE และการเทียบเคียงกับเกณฑ์สากลอื่น ๆ 

ทันทีที่กดปุ่มส่งคำตอบ  ผู้เข้าสอบจะได้ผลการสอบออกมาทันที คะแนนเต็ม 100 คะแนน 
เช่น ถ้าได้คะแนน  45 คะแนน  ระดับคะแนนตาม  CEFR คือ A2  หรือถ้าได้ 65 คือ  ระดับ B1 เป็นต้น

หากนิสิตลืมดูคะแนนตอนแรก และ/หรือ ไม่มั่นใจว่ามหาวิทยาลัยได้รับคะแนนของนิสิตหรือยัง คลิกที่ด้านล่างนี้

ดูคะแนนสอบ (เลือกเมนู คะแนนสอบ KU-EXITE หากยังไม่ปรากฏขอให้รอเจ้าหน้าที่กวาดข้อมูลมาประมาณ 1-2 วัน)

โดยที่  CEFR จะแบ่งเป็นทั้งหมด 6 ระดับ ได้แก่ A1, A2 คือกลุ่ม Beginner  B1,B2 คือ Intermediate และ  C1,C2 คือ Advanced

รายละเอียดการเทียบคะแนนของ KU-EXITE และความหมายของแต่ละระดับดูได้ที่นี่

9. รณีที่นิสิตเกิดปัญหาระหว่างสอบ ทำให้ไม่สามารถทำข้อสอบให้สิ้นสุดได้  ขอให้นิสิตอย่าเพิ่งวิตกกังวล

>>> ให้นิสิตติดต่อเจ้าหน้าที่ ตามช่องทางนี้

  • แจ้งปัญหาได้ที่ widget “AskMe KU 4.0” สังเกตที่มุมด้านล่าง ทางขวามือ
  • เข้า Facebook สำนักบริหารการศึกษา และเข้าไปที่ช่องส่งข้อความ (Messenger) และพิมพ์คำถามหรือแจ้งปัญหาผ่านทาง Messenger
  • ส่งอีเมลแจ้งปัญหาไปที่ registrar@ku.ac.th
  • คำถามที่ถูกส่งมา “พี่ห่วงใย” เอไอ สบศ. จะเป็นผู้วิเคราะห์ก่อน ถ้าพี่ห่วงใย ตอบได้ก็จะได้ให้ทันที ตลอด 24 ชม. ถ้าตอบไม่ได้จะส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ต่อไป   ตอบเสร็จแล้วอย่าลืมประเมินการให้บริการของเจ้าหน้าที่ด้วยนะคะ

10. กรณีที่นิสิตมีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้สอบ หรือสัญญานอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร

หากนิสิตเกิดเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้สอบขัดข้อง สูญหาย และไม่สามารถหายืมอุปกรณ์จากใครได้  >>> ให้นิสิตติดต่อผ่านขอความช่วยเหลือตามช่องทางของแต่ละวิทยาเขตดังนี้

  •  บางเขน สุพรรณบุรี และสถาบันสมทบ : ติดต่อฝ่ายบริการการเรียนการสอน หมายเลข 0-2118-0110 วันและเวลาราชการ
  • กำแพงแสน : ติดต่อได้ที่กองบริหารการศึกษา วิทยาเขตกำแพงแสน หมายเลข 06-1454-2505 วันและเวลาราชการ
  • ศรีราชา : ติดต่อได้ที่กองบริหารวิชาการและนิสิต วิทยาเขตศรีราชา หมายเลข 06-5716-2627 วันและเวลาราชการ
  • สกลนคร : ติดต่อ ที่นี่

 

สำหรับนิสิตที่ไม่ได้เข้าสอบ KU-EXITE และประสงค์จะยื่นคะแนนอื่นแทน เพื่อที่จะได้มีสิทธิ์เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

การไม่เข้าสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา  (KU-EXITE) ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดจัดสอบให้  ไม่ได้มีผลกระทบต่อการสำเร็จการศึกษาของนิสิต  หากนิสิตประสงค์ใช้คะแนนสอบอื่นยื่นแทน KU-EXITE เพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยกำหนดคะแนนที่สามารถใช้ยื่นแทนได้ ดังนี้

โดยนิสิตแต่ละวิทยาเขต สามารถยื่นผลคะแนนสอบได้ดังนี้  (วันหมดเขตยื่นคะแนน ขึ้นอยู่กับวิทยาเขตกำหนด)

  • บางเขน/สุพรรณบุรี/สถาบันสมทบ   ที่นี่
  • กำแพงแสน   ที่นี่
  • ศรีราชา  >> ส่งคะแนน ติดต่องานบริการการศึกษา หมายเลข 0657162627
  • สกลนคร  ที่นี่

 

 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการสอบ KU-EXITE และคำถาม&คำตอบที่พบบ่อย ที่นี่