การจัดชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ของนิสิตใหม่ ทุกวิทยาเขต ประจำปีการศึกษา 2567
รอบเก็บตก สำหรับนิสิตที่พลาดการสอบทุกรอบ
สอบวันที่ 10-11 ตุลาคม พ.ศ. 2567
รอบสุดท้ายของปีนี้แล้ว….. นิสิตที่พลาดการสอบรอบนี้
ให้ยื่นคะแนนสอบอื่น ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อจัดชั้นเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานต่อไป
>>> ทำไม? …. ต้องสอบ KU-KET
ตอบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ตามความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ ให้ตรงตามศักยภาพ และการเรียนรู้ของนิสิตแต่ละคน เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาต่อ และการทำงานในอนาคตของนิสิต เดิมกำหนดใช้คะแนน O-NET03 ภาษาอังกฤษ สำหรับการจัดชั้นเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนในเรื่องของพัฒนาระบบคลังข้อสอบของ KU-EXITE เพื่อใช้วัดผลการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ สำหรับนิสิตปริญญาตรีก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้นำแบบทดสอบนี้ มาใช้วัดผลการเรียนรู้สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ด้วย
โดยเรียกการสอบนี้ว่า KU-KET (เคยู เค็ท) ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบ คือ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา และเป็นผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านระบบ TCAS ทั้งนี้คะแนน KU-KET เป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยใช้จัดชั้นเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานด้วย เช่นเดียวกับ คะแนนอื่น (คะแนน KU-EPT TOEFL IELTS SAT) ดังนั้น นิสิตชั้นปีที่ 1 (รหัส67) ทุกคน ทุกวิทยาเขต ต้องเข้ารับการทดสอบวัดผลภาษาอังกฤษ KU-KET แบบออนไลน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
>>> Login เข้าระบบสอบอย่างไร
ตอบ 1. เปิดเว็บไซต์ พิมพ์ exam.ku.th (ถ้าไม่ได้ให้ลองใช้โหมดไร้ตัวตน) 2. ไปที่ปุ่ม Login ใส่เลขประชาชน 13 หลัก ทั้ง User และ Password
>>> ทำไมถึง Login เข้าระบบสอบแล้วไม่เจอข้อสอบ
ตอบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ล็อกอินด้วยเลขประจำตัวประชาชน (ตามวิธีการเข้าระบบด้านล่าง) ไม่ใช่เข้าด้วย @gmail.com ส่วนตัว ถ้าเข้าถูกต้องชื่อที่ปรากฏมุมขวาจะต้องเป็น เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุลภาษาไทย (ตามที่ยืนยันสิทธิ์กับ ทปอ.)
>>> ถ้าไม่สอบ KU-KET แต่นำคะแนนอื่นมายื่นแทนได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ นิสิตทุกคนต้องเข้ารับการทดสอบ KU-KET เฉพาะนิสิตหลักสูตรนานาชาติ/ภาษาอังกฤษเท่านั้น ที่สามารถนำผลคะแนนอื่นมาใช้เทียบจัดชั้นเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน หลังจากสอบ KU-KET แล้ว
หากไม่มีคะแนนสอบใดเลย มหาวิทยาลัยจะไม่สามารถจัดชั้นเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ให้แก่นิสิตในภาคต้น ปีการศึกษา 2567 ได้
>>> ถ้า สอบ KU-KET ด้วยแล้ว แต่มีคะแนนอื่นที่ดีกว่า ยื่นคะแนนอื่นด้วยได้หรือไม่
ตอบ ได้ มหาวิทยาลัยจะใช้คะแนนที่ดีที่สุด นำมาใช้ในการจัดชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษให้แก่นิสิตต่อไป
>>> ถ้า สอบ KU-KET แล้ว แต่ คะแนนออกมาไม่ดี ทำอย่างไร
ตอบ ไม่เป็นไร คะแนนสอบที่ออกมา ทำให้นิสิตทราบว่า ได้เริ่มเรียนวิชาภาษาอังกฤษตัวแรกวิชาใด หรือต้องเข้ารับการปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อน และ ทำให้นิสิตทราบว่า ควรจะเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะในด้านภาษาอย่างไร ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้
>>> คำถามจากทางบ้าน “อยากให้มีเวลาสอบ KET มากกว่า และอยากเสนอให้ลดระดับข้อสอบลง เพื่อให้เท่ากับระดับมัธยมศึกษา”
ตอบ เวลาในการสอบ KET เป็นเวลามาตรฐาน หากนิสิตทำไม่ได้ตามเวลาที่กำหนดหรือทำไม่ทัน จะถูกเปรียบเทียบกับมาตรฐาน เช่นเดียวกับการสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษอื่นๆ ที่เวลาที่กำหนดถ้าเราทำไม่ได้ตามเวลาก็เป็นเครื่องวัดความรู้ความสามารถอยู่แล้วไม่ได้แปลว่าข้อสอบให้เวลาน้อย
>>> หลักสูตรนานาชาติ ที่ไม่ได้กำหนดให้เรียนวิชาภาษาอังกฤษ ต้องสอบ KU-KET หรือไม่
ตอบ สอบหรือไม่สอบก็ได้ แต่แนะนำและสนับสนุนให้สอบ เพื่อผลประโยชน์ของนิสิตเอง และเป็นข้อมูลให้กับหลักสูตร และมหาวิทยาลัยว่า นิสิตที่เข้าไปเรียน มีความรู้ความสามารถเพียงใด เพราะมีกรณีที่นักเรียนเข้าไปเรียนแล้ว เรียนไม่รู้เรื่อง หรือเรียนไม่ได้ เกิดข้อสงสัยว่า จริงๆแล้วนิสิตที่เข้ามาเรียนนั้นมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ฟังอาจารย์สอนได้รู้เรื่องหรือไม่ การสอบ KU-KET ก็จะเป็นข้อมูลให้กับทางหลักสูตรเพื่อที่จะมีการเตรียมตัวเตรียมความพร้อมให้เหมาะสมกับนิสิตต่อไป
>>> ถ้ามีคะแนน O-NET03 นำมายื่น ได้หรือไม่
ตอบ สามารถนำมายื่นได้ เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการจัดชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังคงขอความร่วมมือให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกคน เข้ารับการทดสอบ KU-KET เพื่อจะได้นำผลสอบไปเปรียบเทียบ และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านภาษา ก่อนสำเร็จการศึกษาให้แก่นิสิต หรือการสอบ KU-EXITE ต่อไป
>>> อะไรคือ ข้อดีของข้อสอบ KU-KET
ตอบ ข้อสอบ KU-KET เป็นข้อสอบของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย การวัด 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 : Listening (เต็ม 40) ส่วนที่ 2 : Structure & Writing Ability (เต็ม 30) ส่วนที่ 3 : Reading Comprehension (เต็ม 30) ซึ่งการทดสอบนี้ สามารถเทียบเท่ากับมาตรฐานการวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล (Common European Framework of Reference for Languages : CEFR) อีกด้วย
>>> ต้องการตรวจสอบผลคะแนนภาษาอังกฤษอีกครั้งหลังจากการสอบไปแล้ว หรือว่า ต้องการทราบว่ามหาวิทยาลัยจะจัดชั้นเรียนให้นิสิตอย่างไร
ตอบ นิสิตตรวจสอบผล >>> https://kasets.art/SEoj2E ถ้าคะแนนยังไม่ปรากฏ โปรดรอเจ้าหน้าที่อัปเดตฐานข้อมูลประมาณ 1-2 วัน
>>> สอบ KET แล้ว และรู้ว่าตนเองต้องเริ่มเรียนวิชาอะไรแล้ว ต้องทำอะไรต่อไปอีก
ตอบ เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเรียนวิชานั้นๆ เมื่อถึงวันเปิดเรียน หากได้เริ่มเรียนวิชา 01355101 และ 01355102 นิสิตภาคปกติ มหาวิทยาลัยจะลงทะเบียนเรียนให้ในภาคต้น ปีการศึกษา 2567 นิสิตดูวันเวลาเรียน ของหมู่เรียนนั้นๆ ได้ที่เว็บ my.ku.th นิสิตภาคพิเศษ/นานาชาติ/ภาษาอังกฤษ ต้องลงทะเบียนเรียนเอง ตามวันที่กำหนด ได้ที่เว็บ my.ku.th เช่นกัน หรือติดตามประกาศได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยทะเบียนของวิทยาเขตที่ตนเองสังกัด ส่วนวิชา 01355103 หรือ 01355XXX การลงทะเบียนเรียน ขึ้นอยู่กับแผนการเรียนตามหลักสูตรกำหนด มหาวิทยาลัยจะไม่ได้ลงให้ โดยเฉพาะวิชา 01355XXX เลือกเรียนได้ตามที่นิสิตถนัดและต้องการพัฒนาทักษะภาษาด้านนั้น
1. เกณฑ์การใช้คะแนนอื่นในการจัดชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน
สำหรับหลักสูตร พ.ศ. 2563 – 2566
(หลักสูตรที่ไม่ได้ระบุในรายชื่อ 22 หลักสูตร)
สำหรับหลักสูตรใหม่ หรือปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2567
(ยกเว้นหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2567 ใช้เกณฑ์เดิม)
2. กำหนดสอบ KET1
>>>>> ทุกรอบสอบ นิสิตเข้าระบบสอบ KULAM ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก โดยวิทยาเขตเป็นผู้ส่งข้อมูลให้ผู้ดูแลระบบสอบ
เปิดระบบสอบ ………… ของวันแรกของการสอบ
ปิดระบบสอบ 23.59 น. ของวันสอบสุดท้าย
3. วิธีเข้าระบบสอบ KULAM ที่นี่ >>>>> https://exam.ku.th
>> ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เป็นชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)
>>ในการเข้าระบบสอบ ไม่ต้องกดปุ่ม Google Login (เนื่องจากนิสิตใหม่ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ @ku.th จนกว่าจะเปิดภาคการศึกษา)
NOTE : หากถึงวันสอบแล้วไม่สามารถเข้าระบบได้ กรุณาติดต่อวิทยาเขตที่นิสิตสังกัด ตามข้อ 8 ก่อนวันสอบอย่างน้อย 1 วัน
4. ซ้อมสอบ : ให้นิสิตเข้าไปทำข้อสอบซ้อมสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้คุ้นเคยกับระบบสอบ
- สามารถเข้าระบบสอบ และเริ่มทำข้อสอบ ได้ตั้งแต่เวลา 00.00 น. (เที่ยงคืน) ของวันสอบวันแรก ที่กำหนดไว้ในแต่ละรอบสอบ
- ที่ชื่อวิชา (Program/Subject) เลือกวิชา “KU-EXITE and Kasetsart English Test (KET)“
- ข้อสอบซ้อมสอบจะเป็นข้อสอบสั้น ๆ ชื่อ “1 – Practice for KET1” จำนวน 1 ชุด ใช้เวลาทำประมาณ 15 นาที ให้ทำก่อนเริ่มสอบจริงเพื่อคุ้นเคยกับการทำงานของระบบ และทดสอบอุปกรณ์ว่าพร้อมทำข้อสอบหรือไม่ (โดยเฉพาะส่วนของการฟังที่ต้องทำต่อเนื่อง)
- ในขั้นตอนนี้นิสิตจะมีข้อสอบ 2 ชุด คือข้อสอบซ้อมสอบและข้อสอบจริง อย่าเพิ่งทำข้อสอบจริง ให้ทำข้อสอบซ้อมสอบก่อน หากเผลอกดเข้าข้อสอบจริง ให้ปิดหน้าจอทันทีและเปิดหน้าจอเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง
5. ทำข้อสอบจริง : นิสิตสามารถเลือกสอบเวลาใดก็ได้ ตลอด 24 ชม. ตามกำหนดการสอบที่ระบุไว้ (สอบเมื่อนิสิตพร้อม) และขอให้ตั้งใจทำข้อสอบด้วยตัวเอง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษของนิสิต และมหาวิทยาลัยจะได้นำผลสอบที่ได้ ใช้สำหรับจัดชั้นเรียนและวัดผลการเรียนรู้ต่อไป
- ข้อสอบมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน เป็นข้อสอบมาตรฐานเดียวกับ KU-EXITE (สอบวัดผลทักษะการใช้งานภาษาอังกฤษก่อนการจบการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
- ข้อสอบการฟัง (Listening) ทดสอบการฟังภาษาอังกฤษและเลือกการโต้ตอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือตอบคำถามให้ตรงกับการสนทนาที่ได้รับฟัง ใช้เวลาไม่เกิน 25 นาที
- ข้อสอบการใช้ภาษาอังกฤษ และการอ่าน ทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษ Grammar การอ่านจับใจความจากบทความต่าง ๆ ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
- เลือกชื่อวิชาเช่นเดียวกับการซ้อมสอบ แต่ให้เลือกทำข้อสอบชื่อ “2 – KET-1 2023 Actual Exam” (โปรดระวัง!! ตรวจสอบชื่อข้อสอบอีกครั้ง ก่อนกดปุ่ม Start หากนิสิตทำข้อสอบซ้อมสอบแล้ว หน้าจอควรจะเหลือข้อสอบเพียงข้อสอบเดียว)
- หากสงสัยในขั้นตอนเข้าระบบสอบ ฯ โปรดกลับไปอ่านที่ข้อ 3
กรุณาใช้ >>>>>> แท็บเล็ต หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการเข้าสอบ รวมถึงตรวจสอบความเสถียรของอินเทอร์เน็ตก่อนเริ่มสอบ เนื่องจากข้อสอบมีไฟล์เสียง (ในส่วนการฟัง) และมีบทความที่ต้องอ่าน (Reading Passage) ซึ่งอาจจะแสดงผลไม่ถูกต้องในอุปกรณ์มือถือ
วิธีสังเกต >>>> หากหน้าจอดูไม่ได้ ให้ปิดจอข้อสอบ แล้วย้ายไปเปิดข้อสอบเพื่อดำเนินการต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Tablet อื่นแทน
แนะนำวิธีการเตรียมตัวสอบ KET >>>> https://www.youtube.com/watch?v=AuErIYG2eY4
หมายเหตุ: ในการสอบ KET ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของนิสิต เป็นทั้งชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน โดยไม่ต้องกด Google Login
คำอธิบายเพิ่มเติม
- ระยะเวลาการทำข้อสอบทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 1:30 – 1:45 ชั่วโมงเมื่อเริ่มต้นการสอบแล้ว จะเป็นการสอบต่อเนื่อง ไม่สามารถย้อนกลับหรือหยุดเวลาในระหว่างการสอบได้
ดังนั้นให้หาช่วงเวลาสอบที่ตนเองไม่ถูกขัดจังหวะหรือเสียสมาธิ - หลังจากทำข้อสอบในส่วนของการฟังไปแล้ว (ประมาณ 30 นาที) จะมีพักเบรค 5 นาทีให้เข้าห้องน้ำได้
ถ้าไม่พักก็สามารถทำข้อสอบในส่วนต่อไปได้เลย - รายงานผลการสอบจะแสดงให้ทันทีหลังจากส่งข้อสอบ
- คะแนนที่ได้ถือเป็นผลการเรียนรู้ของนิสิตที่วัดได้จากการทำข้อสอบ ดังนั้น ขอให้นิสิตตั้งใจทำให้ดีที่สุด มหาวิทยาลัยจะนำไปใช้ประกอบการจัดชั้นเรียนให้แก่นิสิต ตลอดจนนำไปปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษต่อไป
ปัญหาที่พบส่วนใหญ่
- ลืมทำข้อสอบจริง : อย่าลืม!!! ว่าข้อสอบมี 2 ชุด คือ ข้อสอบซ้อมสอบ (ทำหรือไม่ทำก็ได้) และข้อสอบจริง (อันนี้ต้องทำ ไม่ทำจะไม่มีคะแนนในการจัดชั้นเรียนนะจ๊ะ)
- ล็อกอินไม่ได้ –> นิสิตเปิดผ่านไลน์หรือ Facebook บนมือถือโดยตรง ขอให้นิสิตเปิดลิงก์ระบบสอบผ่าน Safari หรือ Chrome โดยตรงเท่านั้น!!!
- นิสิตจำนวนมากใช้โทรศัพท์มือถือในการทำข้อสอบ ***ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมในการทำข้อสอบที่มีข้อมูลมาก
- ปัญหาข้อสอบค้าง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่อุปกรณ์ที่ใช้ทำข้อสอบ โหลดข้อมูลไม่สมบูรณ์ : วิธีแก้ไข คือ หยุดเวลา ด้วยการปิดข้อสอบ แล้วเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ในการทำข้อสอบ
- กรอกรหัสไม่ถูกต้อง/ข้อมูลไม่ถูกต้อง : เนื่องจากการสอบทั้ง 4 กลุ่ม จะใช้รหัสประชาชน 13 หลัก ในการเข้าระบบสอบ ดังนั้น นิสิตควรตรวจสอบว่า ตนเองกรอกเลขครบทุกตัวหรือไม่ และตรวจสอบชื่อ-สกุล ของตนเองด้วยว่า ถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าเลขประชาชนที่กรอกเข้าไป เป็นข้อมูลของบุคคลอื่น โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
- ข้อสอบการฟัง : การใช้หูฟัง จะช่วยให้การทำข้อสอบส่วนนี้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
- การทำข้อสอบแต่ละข้อด้วยตนเอง จะทำให้ได้เริ่มเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่ตรงกับทักษะของตนเอง *การให้ผู้อื่นช่วยทำข้อสอบ เป็นผลเสียต่อตัวนิสิตเอง
- ไม่ควรตอบแบบสุ่มทุกข้อ เพราะจะทำให้คะแนนที่ได้มาก หรือ น้อย เกินจริง และส่งผลเสียต่อตัวนิสิตเอง
6. รายงานผลคะแนน KET1 และเกณฑ์เทียบคะแนนเพื่อใช้ในการจัดชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน : เมื่อสอบเสร็จแล้ว ทันทีที่กดปุ่ม “ส่งคำตอบ” จะได้ทราบผลคะแนนรวมทันที
ให้นิสิตแคปหน้าจอ (Capture Screen) ไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง แต่ไม่ต้องส่งมาให้มหาวิทยาลัยหรือทางคณะ/วิทยาเขตต้นสังกัด — ผู้รับผิดชอบระบบการสอบจะส่งคะแนนสอบให้กับส่วนงานที่เกี่ยวข้องตามกำหนดการสำหรับส่วนงานต่าง ๆ ต่อไป
และให้นิสิตเข้ามาตรวจสอบคะแนนสอบ และผลการจัดชั้นเรียนอีกครั้ง >> https://kasets.art/SEoj2E << (ถ้าคะแนนยังไม่ปรากฏ โปรดรอเจ้าหน้าที่อัปเดตฐานข้อมูลประมาณ 1-2 วัน)
7. แบบประเมินหลังทำข้อสอบเสร็จ : เมื่อทำข้อสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอความร่วมมือนิสิตทำแบบประเมินผลการใช้งานระบบสอบ KULAM>>> ที่นี่
8. หากนิสิตเกิดเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้สอบขัดข้อง สูญหาย และไม่สามารถหายืมอุปกรณ์จากใครได้ >>> ให้นิสิตติดต่อผ่านขอความช่วยเหลือตามช่องทางของแต่ละวิทยาเขตดังนี้
- บางเขน สุพรรณบุรี และวิทยาลัยการชลประทาน : ติดต่อฝ่ายบริการการเรียนการสอน หมายเลข 0-2118-0110 วันและเวลาราชการ
- กำแพงแสน : ติดต่อได้ที่กองบริหารการศึกษา วิทยาเขตกำแพงแสน หมายเลข 06-1454-2505 วันและเวลาราชการ
- ศรีราชา : ติดต่อได้ที่กองบริหารวิชาการและนิสิต วิทยาเขตศรีราชา หมายเลข 06-5716-2627 วันและเวลาราชการ
- สกลนคร : ติดต่อ ที่นี่
9. ยื่นคะแนนสอบอื่น (หลังจากสอบ KET-1) เพื่อใช้ในการจัดชั้นเรียน : ใช้คะแนนดังนี้
1) KU-EPT 2) TOEFL (ITP/iBT) 3) IELTS 4) SAT (evidence-based Reading and Writing) 5) TOEIC
ให้ยื่นไฟล์คะแนนผ่านวิทยาเขตของตนเอง ดังนี้
>บางเขน/สุพรรณบุรี >>> ที่นี่: ยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เพื่อจัดรายวิชาภาษาอังกฤษ 01355xxx ที่ต้องเริ่มเรียน ล่าช้า
>>กำแพงแสน :คลิกที่นี่
>>ศรีราชา : คลิกที่นี่
>>สกลนคร : ยื่นที่ facebook.com/admissionkusakon
กำหนดการรับคะแนนอื่น : —–
อธิบายการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ให้ครบ 9 หน่วยกิต
(หลักสูตรเดิม ปี พ.ศ. 2563 – 2566)
เมื่อนำผลสอบไปเทียบกับเกณฑ์คะแนนสอบ KU-KET ในการจัดชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานแล้ว นิสิตจะทราบว่า ตนเองจะได้เริ่มเรียนวิชาภาษาอังกฤษใด เป็นวิชาแรก และมีเส้นทางการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษตัวใดต่อไป จนครบ 9 หน่วยกิต ตามที่หลักสูตรกำหนด ดูตามรูป
ดูรายละเอียดของข้อมูลหมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป วิชาภาษาต่างประเทศได้ ที่เมนู ศึกษาทั่วไป ด้านบน หรือ คลิกที่นี่
อธิบายการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ให้ครบ 6 หน่วยกิต
(หลักสูตรใหม่/ปรับปรุงใหม่ ปี พ.ศ. 2567)
ดูรายละเอียดของข้อมูลหมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป วิชาภาษาต่างประเทศ (ใหม่) ที่เมนู ศึกษาทั่วไป ด้านบน หรือ คลิกที่นี่
10. นิสิตโครงการเรียนล่วงหน้าและนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สอบเข้าใหม่ ต้องเข้ารับการทดสอบ KU-KET ประจำปีการศึกษา 2567 ก่อน และผ่านการจัดชั้นเรียนตามปกติก่อน หลังจากนั้นจึงทำการเทียบโอนรายวิชาและเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนเรียนให้เหมาะสมต่อไป
ขั้นตอนการเทียบรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับโครงการเรียนล่วงหน้า และเด็กซิ่ว คลิกที่นี่