ประชาสัมพันธ์การรับนิสิตฝึกงาน ของ บริษัท เวิลด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด

ประชาสัมพันธ์การรับนิสิตฝึกงาน ของ บริษัท เวิลด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
ซึ่งให้บริการที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมต่าง ๆ โดยรับนิสิตฝึกงาน ที่มีความสนใจในการออกแบบด้านงานทางงานสะพาน
สามารถเดินทางไปต่างจังหวัดได้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีพร้อมทำงานเป็นทีม

ตำแหน่ง : วิศวกรรมโยธา 2 ตำแหน่ง

โดยนิสิตที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุธีรา วรรณภพ โทร. 090-272-9854 หรือทาง E-mail: wecworking@gmail.com

ดังรายละเอียดไฟล์เอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาสามารถเรียนรายวิชาพื้นฐานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเปิดภาคการศึกษา 

https://registrar.ku.ac.th/tpup

ขอเชิญชวน ครู อาจารย์ และนักเรียนร่วมเสวนา Online
ในหัวข้อ

การขับเคลื่อนกิจกรรมนิสิต ผ่าน KU Soft power
และพร้อมรับฟังพูดคุยเสวนา
“KU Student Soft power ด้านศิลปวัฒนธรรม กับ 9 ชมรมนิสิต”

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2567
เวลา 16.30 – 18.00 น.

live ผ่าน Facebook : กองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

**(กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรับผู้มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมและซอฟต์พาวเวอร์ Tcas 2)**

#Tcas2 #KUSoftpower #โควตา2 #Softpower #ศิลปวัฒนธรรม

เริ่มรับสมัคร

วันที่ 3 มีนาคม – 5 เมษายน 2567 
online

ภาษาอังกฤษ       ภาษาจีน       ภาษาเกาหลี       ภาษาญี่ปุ่น       ภาษาอาเซียน

ประกาศสำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์)

กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบสัมภาษณ์ และระเบียบเกี่ยวกับการคัดเลือก

……………………………………………………………..

 

 

1. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ คุณวุฒิปริญญาตรี

สังกัดสำนักงานเลขานุการสำนักบริหารการศึกษา จำนวน 1 อัตรา

2. ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ คุณวุฒิปริญญาตรี

สังกัดฝ่ายส่งเสริมการศึกษาและเทคโนโลยี จำนวน 2 อัตรา

 

ดาวน์โหลดประกาศ

>>> ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์)
>>> ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก เลขประจำตัว กำหนดวัน เวลา วิชา สถานที่ และระเบียบเกี่ยวกับการคัดเลือก (สอบข้อเขียน)
>>> ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกเพื่อจ้างและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้
>>> ประกาศรับสมัครคัดเลือกเพื่อจ้างและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้

โครงการประชุมสัญจรคณะกรรมการวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับวิทยาเขต ประจำปีงบประมาณ 2567

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2567
ห้องประชุมวิชาการ 1 อาคารศูนย์มหาวิทยาลัย วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน

ประเด็นสำคัญของปัญหาและอุปสรรค รวมถึงความต้องการของคณะต่าง ๆ ในวิทยาเขตกำแพงแสน ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยส่งเสริมและสนับสนุนในระดับนโยบาย จากการประชุมสัญจร ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ซึ่งได้รับทราบจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารวิทยาเขต ผู้บริหารส่วนงานคณาจารย์และบุคลากร ในการศึกษาดูงานคณะทั้งหมดภายในวิทยาเขตฯ ซึ่งประกอบด้วย คณะเกษตร กำแพงแสน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมบริการ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ และรายงานให้ที่ประชุมฯ ทราบ ดังนี้

การส่งเสริม/สนับสนุนในทางวิชาการ

1) การจัดวิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตและคณะเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุมดศึกษา พ.ศ. 2565 และการอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในการพัฒนารายวิชาให้สอดรับ กับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO) และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การวัดและประเมินผลการเรียนที่คณาจารย์ ควรทราบ การผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 เป็นต้น
2) การพัฒนาศักยภาพของอาจารย์และนิสิตด้านภาษาอังกฤษและทักษะที่จำเป็น เพื่อการแข่งขันในตลาดแรงงานและเพื่อส่งเสริมการสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติให้กับวิทยาเขต
3) การสนับสนุนและส่งเสริมให้คณะต่าง ๆ ภายในวิทยาเขตพัฒนาหลักสูตรนานาชาติตลอดจนเพิ่มการประชาสัมพันธ์การรับนิสิตต่างชาติเพื่อเข้าศึกษาในวิทยาเขต โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายชาวจีน ซึ่งมีความต้องการในการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยจำนวนมากและมีศักยภาพในการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาได้ในระดับสูง
4) การสนับสนุนและส่งเสริมให้คณะต่าง ๆ ภายในวิทยาเขตสร้างหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาเชิงบูรณากางเน้นการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะการทำงานและการแข่งขันให้แก่นิสิต
5) การสนับสนุนโครงการธนาคารหน่วยกิต เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความยืดหยุ่น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้หลากหลาย อาทิ ผู้ที่ทำงานแล้ว ผู้สูงอายุ และผู้ที่ไม่มีเวลาเข้าเรียนอย่างต่อเนื่อง

การส่งเสริม/สนับสนุนด้านการบริหารจัดการ

ความสามารถในการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในด้านจำนวนรับเข้าศึกษา
1) ควรปรับช่วงเวลาการรับเข้าศึกษาและการยืนยันสิทธิ์ให้เร็วขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีจำนวนผู้เข้าศึกษาลดลง เนื่องจากเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจระหว่างรอ และเพื่อให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้
2) ควรให้การสนับสนุนคณะที่มีผู้เข้าศึกษาและยืนยันสิทธิ์ลดลง โดยสร้างความรู้ความเข้าใจในการบูรณาการ/ควบรวมหลักสูตร เพื่อลดภาระการบริหารจัดการและให้ความช่วยเหลือด้านการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
3) ควรสนับสนุนโครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติให้มีบทบาทในการช่วยเหลือคณะและวิทยาเขตในการส่งเสริมและสนับสนุนการรับนิสิตต่างชาติเข้าศึกษาทั้งในหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรนิสิตแลกเปลี่ยน และหลักสูตรระดับปริญญา

การช่วยเหลือนิสิตที่กำลังศึกษา

1) ควรกำหนดแนวทางการช่วยเหลือนิสิตโควตานักกีฬา เนื่องจากปัจจุบันประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนวิชาภายนอกคณะและวิชาพื้นฐาน โดยเฉพาะในรายวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งมหาวิทยาลัยควรมีนโยบายให้กับคณะที่จัดการเรียนการสอนได้จัดทำรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกีฬาเช่นเดียวกับบางเขน
2) ควรมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนด้านสุขภาพจิตสำหรับนิสิต เพื่อคัดกรองก่อนการรับเข้าศึกษาและลดภาระการดูแลของศูนย์ KU Happy Place ตลอดจนเพื่อให้คณะและส่วนงานเตรียมการรับมือได้อย่างถูกต้อง

การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศและระบบการบริหารจัดการอื่น ๆ

1) ควรพัฒนาระบบสารสนเทศการลงทะเบียนและการเรียนการสอนของคณาจารย์และนิสิตให้มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาฯ เช่น กรณีการลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่ต้องมีรายวิชาที่เรียนมาก่อน (Prerequisite) ซึ่งระบบสารสนเทศควรจำกัดการลงทะเบียนให้นิสิตไม่สามารถลงทะเบียนข้ามรายวิชาได้ตลอดจนการจัดสรรเงินค่าหน่วยกิตให้กับคณาจารย์อย่างคล่องตัวในรายวิชาที่มีการสอนโดยอาจารย์จากหลายคณะ เป็นต้น
2) ควรกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และแบบไม่นับหน่วยกิต(Audit) ให้ชัดเจน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนบางส่วนยังขาดความเข้าใจในหลักการและไม่อนุญาตให้นิสิตได้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาแบบไม่นับหน่วยกิต
3) ควรพิจารณาปรับปรุงระบบสารสนเทศการถอนรายวิชา โดยยกเลิกขั้นตอนการให้อาจารย์กดยืนยันเพื่อให้การถอนรายวิชาสมบูรณ์ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานและทันต่อเวลาในกรณีที่นิสิตดำเนินการล่าช้า
4) ควรเปิดโอกาสให้คณะสามารถบริหารจัดการเตรียมความพร้อม ให้กับนิสิตที่มีคะแนนทดสอบต่ำกว่า 51 ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 355103 และ 355XXX ก่อนนิสิตอื่น ๆ
5) ควรพิจารณาทบทวนเงื่อนไขที่กำหนดให้นิสิตเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยต้องผ่านการสอบภาษาอังกฤษและทักษะที่เกี่ยวข้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
6) ควรกำหนดมาตรการในการดูแลอาจารย์ผู้สอนต่างชาติและนิสิตต่างชาติให้ชัดเจน รวมถึงส่งเสริมให้คณะและส่วนงานเสริมสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติในวิทยาเขต เช่น การจัดทำสื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงจัดทำป้าย/ประกาศ/คู่มือต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยโดยใช้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
7) ควรกำหนดนโยบายการเรียนการสอนออนไลน์โดยกำหนดอัตราส่วนระหว่างการสอนแบบใช้ VDO และการสอนแบบ Live Streaming ให้ชัดเจน โดยเฉพาะรายวิชาบริการกลางซึ่งจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตจำนวนมาก

โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกได้ให้ข้อแนะนำและข้อเสนอแนะในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องข้างต้นเพิ่มเติมดังนี้

1) ควรพิจารณาปรับวิธีการรับนิสิตเข้าศึกษาให้มีระบบรับเข้าศึกษาที่หลากหลายและเปิดกว้าง สร้างหลักสูตรทั้งในรูปแบบ Degree และ Non Degree ที่ครอบคลุมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเป็นทางเลือกในการเข้าศึกษาตามศักยภาพและความสะดวกของผู้เรียน ตลอดจนสามารถสะสมหน่วยกิตเพื่อนำมารับปริญญาได้ในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบันซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียนเพื่อนำไปประกอบอาชีพมากกว่าการเรียนเพื่อรับปริญญา
2) ควรรักษามาตรฐานของระบบสนับสนุนคุณภาพการศึกษา สร้างความโปร่งใส มีการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของระบบการเทียบโอนหน่วยกิตและระบบธนาคารหน่วยกิต
3) สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติซึ่งมีอัตลักษณ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสอดคล้องตามความต้องการของตลาดแรงงานและผู้ใช้บัณฑิต
4) ควรพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อรองรับการออกแบบ/การบูรณาการหลักสูตร รวมถึงพัฒนาระบบคลังหน่วยกิตของมหาวิทยาลัย เพื่อสอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียน
5) ควรพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ 100% ในคณะหรือสาขาวิชาที่มีความพร้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียน
6) ควรมีมาตรการรองรับและดูแลสุขภาพจิตของนิสิต อาทิ โรคซึมเศร้า โรคทางจิตอื่น ๆ ตลอดจนความวิตกกังวลในเรื่องการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจส่งผลกับการเรียนของนิสิต และควรมีการเก็บข้อมูลเป็นการเฉพาะโดยคำนึงถึงข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ
7) พิจารณาให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่โดยรอบวิทยาเขต โดยสร้างหลักสูตรระยะสั้น หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรเพื่อ Upskill-Reskill ซึ่งจะส่งผลดีต่อการต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่นอกเหนือจากนักเรียนมัธยมปลาย และได้ประโยชน์จากการขยายเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมหลักสูตร CWIE ของมหาวิทยาลัย
8) ควรดำเนินการในระดับคณะ วิทยาเขตและมหาวิทยาลัยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ ยกระดับศักยภาพนิสิตสู่สากล และสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กระทรวงฯ กำหนดไว้เมื่อสำเร็จการศึกษาให้มีระดับคะแนนไม่น้อยกว่า B2 เพื่อการแข่งขันได้ในเวทีโลก
9) ควรพิจารณาใช้ผลการทดสอบภาษาอังกฤษซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับนิสิตที่จะสำเร็จการศึกษา อาทิ TOEIC TOEFL หรือ IELTS เพื่อทดแทนการสอบ KU-EXITE เนื่องจากนิสิตสามารถนำผลการทดสอบไปใช้ประโยชน์ ต่อได้ทันทีสำหรับการสมัครงานหรือการศึกษาต่อโดยไม่ต้องทดสอบภาษาอังกฤษหลายครั้ง
10) ควรกำหนดให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษอย่างน้อย 1 วิชา ใน 1 ภาคการศึกษาและมีระบบติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
11) ควรพิจารณาการจัดสรรพื้นที่เพื่อเป็น Co-working Space ภายในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางสังคม
12) ควรจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ (UBI) โดยใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้และส่งเสริมให้นิสิตได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ
13) ควรกำหนดแนวทางการควบรวมหลักสูตรและการใช้ชื่อปริญญาหลังจากที่นิสิตสำเร็จการศึกษาแล้ว เนื่องจากใบปริญญาบัตรจะระบุเฉพาะชื่อหลักสูตรโดยไม่ระบุสาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งจะส่งผลต่อการรับรองของสภาวิชาชีพ
14) พิจารณาทบทวนแนวทาง/เหตุผลความจำเป็นในการให้ทุนผลการเรียนดีเด่น (5A) เนื่องจากปัจจุบันผู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนนี้มักเป็นนิสิตที่มีฐานะ ซึ่งไม่ตอบโจทย์สำหรับนิสิตขาดแคลน
15) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณาจารย์ในวิทยาเขต ในเรื่องการควบรวมหลายสาขาวิชาให้อยู่ภายในหลักสูตรเดียว ภาระงานในการเขียนหลักสูตร อาทิ การวิจัยสถาบัน การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเพิ่มขึ้น และต้องครอบคลุมการเขียนผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ตลอดจนการติดตามผลของผู้ใช้บัณฑิต ฯลฯ จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนสาขาวิชาที่ควบรวม

ทั้งนี้รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลอย่างทั่วถึงทุกวิทยาเขตและทุก
ระดับ เพื่อลดประเด็นปัญหาการบริหารจัดการของวิทยาเขตที่อาจเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในข้อบังคับ/ระเบียบ/แนวปฏิบัติ/มาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การปรับปรุงหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มก. พ.ศ. 2564

           

 

คลิปวีดิทัศน์การจัดทำข้อมูลตั้งต้นรายวิชาศึกษาทั่วไป การปรับปรุงหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2564

รายวิชา และ คำอธิบายรายวิชา จำแนกตามกลุ่มสาระ พ.ศ.2564


กลุ่มสาระอยู่ดีมีสุข (Wellness)

กลุ่มสาระศาสตร์แห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)

กลุ่มสาระภาษากับการสื่อสาร (Language and Communication)

กลุ่มสาระพลเมืองไทยและพลเมืองโลก (Thai Citizen and Global Citizen)

กลุ่มสาระสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)

 

     คลิกที่รูปภาพ
     

 

ประชาสัมพันธ์การรับนิสิตสหกิจศึกษา ของ บริษัท เบย์วา อาร์.อี. (ไทยแลนด์) จำกัด

ซึ่งประกอบธุรกิจประเภทการขายส่งและการขายปลีกการซ่อมยานยนต์และ จักรยานยนต์ โดยให้บริการด้าน การขายส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ

โดยเปิดรับนิสิตสหกิจศึกษา ระยะเวลา 4-6 เดือนในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้

– Wind Resource Engineer Intern
– Engineering Management Intern
– Accounts Receivable Intern
– Legal Intern
– Marketing Intern

โดยรับนิสิต ชั้นปีที่ 3-4 หรือปริญญาโท ในคณะและสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

– Engineering (Engineering Management, Mechanical, Electrical, Civil or equivalent program)
– Sciences (Physics, Meteorology)
– Computer Sciences
– Finance / Accountancy
– Law
– Marketing

โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณชไมพร ทาง Email: chamaiporn.manochai@baywa-re.com
หรือ โทร. 0 2091 2650 นิสิตที่สนใจสามารถส่ง resume และจดหมายผ่านทาง QR-Code
รายละเอียดดังไฟล์
เอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

ประกาศสำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสารขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน

ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

 

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม   

            ดาวน์โหลด >>