การขอคืนเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาตามนโยบายช่วยเหลือภาครัฐร่วมกับมหาวิทยาลัย

โปรดทราบ ::

การยืนยันสิทธิ์ทั่วไป ปิดระบบแล้วตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 (ข้อมูลถูกคัดออกมาจากระบบ และส่งให้กับกระทรวง ฯ เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นข้อมูลที่เข้ามาหลังจากนั้นจะเป็นโมฆะ จะต้องใช้แบบฟอร์มคำร้องขอทบทวนสิทธิ์ด้านล่างแทน)

กรณีได้รับแจ้งจากทางคณะวิชาต้นสังกัดว่าอยู่ในข่ายที่ยังไม่ได้ดำเนินการ หรือต้องการทบทวนสิทธิ์ (เนื่องจากตอนแรกเลือกสิทธิ์ลดหย่อนเฉพาะมหาวิทยาลัย และต่อมาต้องการการเยียวยาจากภาครัฐเพิ่มเติม หรือกรณีที่เลือกสิทธิ์เยียวยาจากภาครัฐแต่ผู้ปกครองเบิกเงินเต็มจำนวนจากต้นสังกัด ทำให้กลายเป็นบุคคลที่ใช้สิทธิ์เงินรัฐบาลซ้ำซ้อน และต้องทำเรื่องขอคืนเงินกับทางมหาวิทยาลัย) ให้ใช้แบบฟอร์ม Google Form ด้านล่างนี้เพื่อกรอกคำร้องขอทบทวนสิทธิ์ลดหย่อน ภายในวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

(คำร้องนี้เฉพาะผู้ที่ไม่ได้ตอบใช้สิทธิ์ยืนยันกับทางภาครัฐด้วยตนเอง หรือต้องการทบทวนสิทธิ์เท่านั้น กรณียื่นสิทธิ์และได้รับอนุมัติสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการลดหย่อนในระบบ หรือยังไม่ได้รับเงินส่วนเกินคืน ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัย ฯ กำลังดำเนินการตรวจสอบข้อมูลสถานะทางการเงินใหม่ทั้งหมด และจะดำเนินการปรับปรุงใบแจ้งหนี้/ใบลดหย่อน ฯ/โอนเงินให้นิสิตเพิ่มเติมต่อไป)

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยืนยันรับสิทธิ์ลดหย่อนของภาครัฐ ล่าช้า หรือ ทบทวนการยืนยันสิทธิ์ขอลดหย่อนค่าธรรมเนียม ฯ

1. ศึกษารายละเอียดของการลดหย่อนและคืนเงินด้านล่างนี้
2. ตรวจสอบสิทธิ์ที่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยและกระทรวง ฯ อนุมัติสิทธิ์ไว้ ที่ https://stdregis.ku.ac.th
3. (กรณียืนยันสิทธิ์ล่าช้า/ขอทบทวนสิทธิ์ลดหย่อนเพิ่ม) เตรียมบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน (ไม่ใช่ผูกกับโทรศัพท์มือถือ กรณีที่มีแล้วไม่ต้องดำเนินการ ถ้ายังไม่เคยมีให้ดูรายละเอียดด้านล่าง)
4. เข้าตรวจสอบสิทธิ์การลดหย่อนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นทะเบียนไว้กับภาครัฐ ที่ https://covidfund.cupt.net/register และบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานในข้อถัดไป
5. กรอกแบบฟอร์มยืนยันรับสิทธิ์ลดหย่อนของภาครัฐ ล่าช้า https://forms.gle/uwCF9QoUtNnpAxpq5 ใช้อีเมล @ku.th เท่านั้น (ยกเลิกการใช้ระบบยืนยันสิทธิ์เดิม)
6. หลังจากครบกำหนดช่วงรับคำร้อง ฯ ล่าช้า มหาวิทยาลัยจะประมวลผลข้อมูลและประสานงานกับกระทรวง ฯ เพื่อขออนุมัติสิทธิ์เพิ่มเติม/ล่าช้า และจะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

กรณียื่นทบทวนสิทธิ์ประเภทขอคืนเงิน/ยกเลิกสิทธิ์เงินเยียวยาจากภาครัฐ มหาวิทยาลัยจะตั้งยอดหนี้สินคงค้างกับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องชำระให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถลงทะเบียนในภาคการศึกษาถัดไป หรือยื่นขอจบการศึกษาได้

** นิสิตต่างชาติขอคืนลดหย่อนค่าเทอมต้น 64  และผู้ที่ต้องการขอค่าธรรมเนียมการศึกษาคืนเพราะโดนคัดชื่อออก
ให้ใช้แบบฟอร์มนี้
For non Thai citizen students and retired students, please use this form to request  a refund.

การลดหย่อนและข้อกำหนด

เงินลดหย่อน  50%  แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่  1  30% เป็นเงินสนับสนุนจากรัฐ  (หรือเป็นขั้นบันได ในกรณีที่ค่าเทอมสูงกว่า 50,000 ดูภาพด้านล่าง)
ส่วนที่ 2  20% เป็นเงินจากมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ลดหย่อนให้ก่อนแล้ว 10% ในค่าธรรมเนียมของภาคการศึกษานี้

ข้อกำหนดของผู้มีสิทธิ์รับลดหย่อนในส่วนที่ 1 (ส่วนที่เป็น 30% จาก พ.ร.บ. เงินกู้ของภาครัฐ)
1. มีสัญชาติไทย
2. ลงทะเบียนเรียน ในภาคต้น ปีการศึกษา 2564 (ทปอ. เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดให้เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนเรียนเท่านั้นจึงจะได้สิทธิ์นี้ โดยมหาวิทยาลัยจะปรับการเลือกสิทธิ์รัฐบาลออกให้โดยอัตโนมัติ)
3. หากลงทะเบียนในหลายสถานศึกษา จะต้องเลือกรับสิทธิ์ที่เดียวเท่านั้น
4.  ไม่เป็นผู้ที่รับทุนการศึกษาจากเงินของภาครัฐอยู่แล้ว
5. ยินดีที่จะส่งมอบหลักฐานต่างๆ  (ถ้ามี) ในการเบิกจ่ายให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปเบิกจ่ายกับรัฐ
6. หากมหาวิทยาลัยไม่สามารถเรียกเก็บส่วนลดค่าธรรมเนียมการศึกษาจากรัฐ ในชื่อของนิสิต ได้ และได้คืนเงินนิสิตในส่วนนี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว นิสิตยินยอมให้มหาวิทยาลัยตั้งยอดหนี้สินคงค้างกับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องชำระให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถลงทะเบียนในภาคการศึกษาถัดไป/ยื่นขอจบการศึกษา ได้

ช่องทางการคืนเงิน
1. ดำเนินการคืนผ่านบัญชี Prompt Pay ที่ผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น เนื่องจากต้องมีหลักฐานให้กับทางรัฐว่าได้โอนเงินให้กับบุคคลที่มีเลขประชาชนตรงกับนิสิตจริง
2. ไม่สามารถคืนผ่าน Prompt Pay ของบุคคลอื่นได้ หรือ Prompt Pay ที่เป็นเบอร์โทรศัพท์ได้ (ตามข้อ 1)
3. หากท่านไม่ได้ใช้งาน Prompt Pay มานานมากเกิน 1 ปี  บัญชีอาจจะถูกปิด
4. มีบ่อยครั้งที่มีการจำไม่ได้ว่าเอาบัญชีใดไปผูกกับบัตรประชาชน เมื่อเงินโอนไปแล้ว แต่ท่านยืนยันว่าไม่ได้รับ เปิดบัญชีดูแล้ว แต่ท้ายที่สุดคือจำผิด

ช่องทางการติดตามสถานะการคืนเงิน
1. ระบบยืนยันการใช้สิทธิ์ (อยู่ในระหว่างการพัฒนาให้ตรวจสอบสถานะ)
2. แอปพลิเคชัน  KU-RU (ในหมวดประกาศรายบุคคล)
3. หากท่านไม่ได้ใช้งาน Prompt Pay มานานมากเกิน 1 ปี  บัญชีอาจจะถูกปิด

FAQ  เงินลดหย่อนที่จะรับจากภาครัฐ
ถาม:  ถ้าไม่ลงทะเบียนในระบบยืนยันสิทธิ์ จะได้เงินลดหย่อนคืนโดยอัตโนมัติเลยหรือไม่
ตอบ:  ไม่ได้ เพราะ

1. เงินที่มาจากรัฐคือเงินกู้ที่รัฐต้องเป็นหนี้ ท่านจะต้องยืนยันเพื่อจะมีหลักฐานการขอใช้สิทธิ์ ท่านมีสิทธิ์ที่จะเลือกไม่รับเงินช่วยเหลือนี้ในระบบได้  แต่ถ้าท่านจะขอรับสิทธิ์นี้ท่านจะต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการรับเงินจากภาครัฐดังกล่าว

2. ระบบการเงินจะดำเนินการต่อไม่ได้เนื่องจากไม่ทราบผลการเลือกของท่าน

3. การดำเนินการคืนเงินและปรับลดหย่อนค่าธรรมเนียมการศึกษา จะล่าช้า

การยืนยันสิทธิ์รอบปกติสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 — การยืนยันสิทธิ์รอบล่าช้า (ปรับปรุงสิทธิ์ที่มหาวิทยาลัยได้ปิดสิทธิ์เพื่อจัดสรรค่าธรรมเนียมการศึกษา) จะสิ้นสุดในวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ถาม: กดยืนยันไปแล้วในระบบ  จะแก้ไขหรือเปลี่ยนใจได้หรือไม่
ตอบ: ไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากภาครัฐบาลได้นำข้อมูลของท่านไปประมวลผลแล้ว

ถาม: กดยืนยันไปแล้วทำไมยังไม่ได้รับเงินภายในรอบที่กำหนด
ตอบ: การดำเนินการคืนเงินจะต้องดำเนินการปรับยอดหนี้ที่ค้างชำระให้เสร็จสิ้นก่อน เมื่อปรับยอดหนี้แล้วจึงจะดำเนินการตัดชำระเงินที่ได้ชำระอยู่ในระบบอยู่ในปัจจุบัน (ทั้งแบบชำระเต็มจำนวน ชำระ 1 2 หรือ 3 งวด) เพื่อให้ได้ยอดหนี้คงค้าง/เงินที่ชำระเกิน หลังจากนั้นจึงจะทำการนำยอดที่ชำระเกินไปส่งเข้าระบบการคืนเงิน Prompt Pay ซึ่งระบบก็จะประมวลผลการจ่ายเงินเป็นรายบุคคล โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการประมวลผลตามลำดับคิวก่อน-หลังที่ท่านได้ยื่นยืนยันสิทธิ์ จึงทำให้แต่ละคนที่ยืนยันสิทธิ์ในรอบเดียวกัน อาจจะได้รับเงินไม่พร้อมกัน

FAQ  เกี่ยวกับกรณีการชำระเงินส่วนคงค้าง และผู้ผ่อนชำระเงินเป็น 3 งวด

ถาม: ทำไมตอนนี้ นิสิตที่ชำระเงินผ่านระบบ MY KU จึงยังไม่สามารถดำเนินการชำระเงินใด ๆ ต่อได้
ตอบ: เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องส่งข้อมูลการชำระเงินของนิสิตทุกรายการให้ทางภาครัฐเพื่อตรวจสอบ และเพื่อให้การปรับใบแจ้งหนี้ (invoice) เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่นิสิตได้ยืนยันสิทธิ์เอาไว้ ระบบ MY KU จะปรับสถานะของใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้ดำเนินการยืนยันยอดใหม่เป็น ปิดชั่วคราว (inactive) จนกว่าจะมีการปรับยอดใหม่เป็นที่เรียบร้อย

ถาม: เลือกตัวเลือก (ค) ไม่ยกเลิกใบเสร็จ ไป ทำไมยังไม่สามารถพิมพ์ใบเสร็จบนระบบ MY KU ได้ทันที
ตอบ: เนื่องจากข้อมูลการยืนยันสิทธิ์จะถูกส่งข้อมูลไปเป็นรอบ ๆ ดังนั้น ระบบจะปลดล็อกได้หลังจากทางระบบยืนยันสิทธิ์ได้ทำการตัดผลยืนยัน (ล็อกไม่ให้นิสิตแก้ไข) เรียบร้อยแล้ว โดยอาจจะใช้เวลาดำเนินการปลดล็อกใบเสร็จจากวันตัดรอบอีก 2-3 วันทำการ จึงจะสามารถพิมพ์ใบเสร็จ KU 2 ได้ตามปกติ

ถาม: สำหรับระบบสารสนเทศนิสิต นิสิตจะได้ใบเสร็จ KU 2 เมื่อใด
ตอบ: ตามปฏิทินการศึกษาปกติ แต่หากนิสิตยังไม่ได้เข้ามายืนยันสิทธิ์ ระบบจะยังล็อกไม่ให้พิมพ์ใบเสร็จได้จนกว่าจะเข้ามายืนยันสิทธิ์ และระบบยืนยันสิทธิ์ส่งข้อมูลให้เรียบร้อย

ถาม: กรณีพ้นกำหนดการยืนยันสิทธิ์ ทั้งระบบ MY KU และระบบสารสนเทศนิสิต จะเปิดระบบกลับคืนให้เมื่อใด
ตอบ: เปิดระบบกลับคืนจากวันพ้นกำหนดการยืนยันสิทธิ์ประมาณ 1-2 สัปดาห์ (ดูประกาศที่แต่ละระบบอีกครั้ง)

ถาม: กรณีแบ่งจ่ายชำระ 3 งวด เมื่อยืนยันสิทธิ์และระบบปรับยอดหนี้ให้แล้ว จะต้องจ่ายงวดที่เหลืออย่างไร
ตอบ: เนื่องด้วยการตัดชำระเงินสำหรับกรณี 3 งวด มีการดำเนินงานที่ซับซ้อน เพื่อให้การคิดเงินที่ชำระบางส่วนไปแล้วถูกต้อง ใบแจ้งหนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นการชำระเงินแบบครั้งเดียวโดยมีสถานะ “ผ่อนผัน/ชำระเงินล่าช้า” และ “ชำระเงินบางส่วน” ให้โดยอัตโนมัติ

FAQ  เกี่ยวกับ  Prompt Pay

ถาม: เลข Prompt Pay บัตรประจำตัวประชาชน ผูกกับบัญชีธนาคาร …..  อยู่ จะสามารถรับเงินคืนได้หรือไม่
ตอบ: เลข Prompt Pay บัตรประจำตัวประชาชนของท่าน จะผูกบัญชีของธนาคารใดก็ได้ (บัญชีประเภทออมทรัพย์เท่านั้น)

ถาม: บัญชีที่อยากจะให้เงินเข้า ไปผูกเลข Prompt Pay หมายเลขโทรศัพท์มือถืออยู่ จะทำอย่างไร
ตอบ: บัญชีธนาคาร 1 บัญชี สามารถผูกกับเลขประจำตัวประชาชน 1 หมายเลข + หมายเลขโทรศัพท์มือถืออีกสูงสุด 3 หมายเลข ในเวลาเดียวกัน แต่การคืนเงินในครั้งนี้ มก. จะดำเนินการสั่งจ่ายผ่านเลข Prompt Pay บัตรประจำตัวประชาชน เท่านั้น ดังนั้นขอให้นิสิตดำเนินการผูกบัญชีธนาคาร กับเลข Prompt Pay บัตรประจำตัวประชาชน เตรียมพร้อมไว้ให้เรียบร้อย

ถาม: กรณีเลขประจำตัวประชาชนถูกใช้ไปกับการผูกบัญชีธนาคารไปแล้ว จะสามารถผูกซ้ำได้หรือไม่
ตอบ: ไม่สามารถผูกซ้ำได้ เนื่องจาก Prompt Pay 1 หมายเลข (กรณีนี้ เลขประจำตัวประชาชน) จะสามารถผูกได้กับ 1 บัญชีเงินฝากธนาคาร เท่านั้น ดังนั้นหากนิสิตต้องการเปลี่ยนบัญชีที่จะใช้ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน จะต้องทำการยกเลิกการผูกเลข Prompt Pay บัตรประจำตัวประชาชน กับบัญชีธนาคารเดิมก่อน แล้วค่อยนำเลข Prompt Pay บัตรประจำตัวประชาชน ไปผูกกับบัญชีธนาคารใหม่

FAQ  เกี่ยวกับ กยศ./กรอ.

ถาม:   เป็นผู้กู้รายเก่า  ไม่ต้องการลดยอดหนี้แต่ต้องการเป็นเงินคืนเข้า  Prompt Pay ได้หรือไม่
ตอบ:  ไม่ได้ ตามข้อกำหนดของเงินพรบ. เงินกู้จากภาครัฐ และ กรอ. /กยศ.

ถาม: ตัวเลือก เป็นผู้กู้ กยศ./กรอ. (ลดหย่อนเงินกู้อัตโนมัติ) หมายความว่าอย่างไร และจะได้รับลดหย่อนหรือไม่ อย่างไร
ตอบ: นิสิตที่มาเลือกยืนยันว่าเป็นผู้กู้ กยศ./กรอ. (ลดหย่อนเงินกู้อัตโนมัติ) ทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่จะดำเนินการ ทาง มก. และรัฐจะถือว่านิสิตขอใช้สิทธิ์ลดหย่อนทั้งสองส่วน (30%+20%) โดยอัตโนมัติ (ทั้งนี้ ทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ส่วนกลาง) จะให้กู้ตามยอดที่สถานศึกษาเรียกเก็บจริง ตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาฉบับหลังลดหย่อนแล้ว เท่านั้น)

ถาม: นิสิต กยศ./กรอ. ที่ชำระเงินสดไปแล้วก่อนหน้านี้ จะได้รับเงินคืนอย่างไร
ตอบ: นิสิตที่ชำระเงินสดไปแล้วก่อนหน้านี้ ในส่วนแรกจะดำเนินการเหมือนกับนิสิตที่ชำระเงินสดปกติก่อน คือ คืนเฉพาะส่วนเกินจากอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาที่เป็นเงินสด ก่อน (โดยคืนรวมกรณีที่นิสิตได้ยกเว้นตามประกาศของ มก. เช่น A 15 หน่วยกิต ความประพฤติ กิจกรรมดีเด่น ฯลฯ ด้วย) ส่วนเงินที่ได้มาจากการกู้ กยศ. นิสิตจะได้คืนก็ต่อเมื่อทาง กยศ. (ส่วนกลาง) โอนเงินกู้มายัง มก. แล้ว ในส่วนนี้นิสิตต้องมาดำเนินการขอคืนเงินส่วนนี้อีกรอบนึงตามขั้นตอนปกติ (เนื่องจากนิสิตบางคน ทาง กยศ. อาจจะไม่อนุมัติการกู้ส่วนค่าเทอม หรือ การอนุมัติกู้ยืมทั้งหมดไม่สำเร็จ หรือ มีส่วนต่างที่ต้องชำระหลังจากเงินกู้เข้าสู่ระบบ)

ถาม: หากนิสิตไม่ได้รับอนุมัติเงินลดหย่อน 30% ของรัฐ (เนื่องจากผิดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รัฐบาลไม่รับพิจารณา) มก. จะตั้งเป็นหนี้สินค้างชำระกับมหาวิทยาลัย ในส่วนต่างนี้จะสามารถกู้เพิ่มได้หรือไม่
ตอบ: ไม่สามารถกู้เพิ่มได้ เนื่องจากยอดเงินที่ มก. และรัฐจะอนุมัติให้กู้ยืมนั้น จะเป็นอัตราที่ลดหย่อน 50 % แล้ว ตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างวิธีการผูกบัญชีธนาคาร